ไฟฟ้าเป็นพลังงาน ที่มีประโยชน์มหาศาล ในขณะเดียวกัน ก็มีอันตรายแฝงอยู่ตลอดเวลาที่ใช้ ซึ่งอาจจะนำอันตราย มาสู่ชีวิตและทรัพย์สินได้ หากใช้ไม่ถูกวิธีหรือประมาท
ความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารบ้านเรือน
-
รั้วหรือหลังคาที่เป็นโลหะ
เช่น สังกะสี อาจแตะกับสายไฟฟ้า และมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ โดยที่เราไม่รู้ จึงควรระวังไม่ให้คมสังกะสี บาดหรือเสียดสีกับสายไฟฟ้า โดยใช้หลอดกระเบื้อง สวมสายไฟฟ้ากันไว้ และควรระวัง ไม่ให้ตะปูที่ตอกตรึงสังกะสี ทะลุไปถูกสายไฟฟ้า - ห้องน้ำเป็นสถานที่ที่มีน้ำเปียกชื้นอยู่เป็นประจำ และเมื่อร่างกายเราเปียกน้ำ ย่อมมีโอกาส ที่จะได้รับอันตรายจากไฟฟ้าได้ง่าย ฉะนั้น จึงไม่ควรติดตั้งสวิตซ์ เต้ารับ หรือนำเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ไม่มีเครื่องป้องกันอย่างเพียงพอ ไว้ภายในห้องน้ำราวตากผ้า หรืออุปกรณ์ติดผนังห้องน้ำ ขณะติดตั้ง จะต้องระวัง ไม่ให้ตะปูทะลุไปถูกสายไฟฟ้า เพราะจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ซึ่งจะเป็นอันตรายได้
-
เสาอากาศวิทยุและโทรทัศน์
อาจแตะกับสายไฟฟ้า หรือถูกฟ้าผ่า เปํนอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงควรติดตั้งเสาอากาศ ให้ห่างจากสายไฟฟ้า ในระยะซึ่งถ้าเสาอากาศล้ม จะไม่พาดกับสาบไฟฟ้า
เสาอากาศควรต่อสายลงดินไว้ด้วย โดยเฉพาะเสาอากาศที่สูง หรืออยู่ในที่โดดเดี่ยว
สายอากาศที่ปลดออกจากเครื่อง ควรม้วนปลายสายเก็บไว้ในที่สูง เพื่อเป็นการป้องกันไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่มีเด็กเอาปลายสาย แหย่เข้ากับเต้ารับไฟฟ้า -
หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดแสงนวล
มีเครื่องประกอบหลายอย่าง ควรทำความเข้าใจ และใช้ให้ถูกต้อง
การติดตั้งควรใช้ช่างไฟฟ้า ซึ่งมีความรู้ความชำนาญเป็นผู้ติดตั้งให้ เพื่อจะได้ติดตั้งให้ครบชุด และการเปลี่ยนบัลลาสต์แต่ละครั้ง ควรใช้ช่างไฟฟ้าเปลี่ยนให้เช่นกัน
หลอดที่หมดอายุการใช้งานแล้ว จะมีสีดำปรากฏให้เห็นที่ขั้วหลอด และจะดำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปไฟจะกะพริบ และไม่ติด ถ้าขั้วหลอดแดง และไม่ติดแสดงว่าสตาร์ทเตอร์เสีย ทั้งสองกรณีไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะทำให้บัลลาสต์ร้อนจัด ยางน้ำมันที่อยู่ข้างใน อาจจะละลายไหลหยดลงถูกศีรษะ หรือเครื่องเรือน และอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ ควรเปลี่ยนหลอดสตาร์ทเตอร์ใหม่ทันที เพราะอาจจะมีผู้ไปเปิดทิ้งไว้ จจทำให้เกิดอันตรายเพราะความร้อนได้
อย่าให้หลอดไฟฟ้า ซึ่งมีความร้อนสูง อยู่ติดกับวัตถุซึ่งเป็นเชื้อเพลิง เช่น มุ้ง ม่าน เสื้อผ้า หรือกระดาษ
หลอดที่ขาดแล้ว ควรใส่ไว้กับขั้วรับ จนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเผลอเรอเอานิ้วแหย่เข้าไป -
โคมไฟฟ้าชนิดตั้งโต๊ะและตั้งพื้น ซึ่งย้ายที่บ่อย อาจชำรุดจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายได้
-
โคมไฟฟ้านอกชายคา หรือโคมไฟฟ้าสำหรับใช้งานสมบุกสมบัน แม้จะเป็นการชั่วคราว เช่น อู่ซ่อมรถ ควรเลือกใช้โคมไฟฟ้าที่ดีได้มาตรฐาน มีตะแกรงครอบหลอด และมีสายชนิดที่มีเปลือกหุ้มหนา
-
ควรระวังอย่าวางสายไฟฟ้าสอดไว้ใต้พรมปูพื้น ใต้บานประตู หน้าต่าง หรือขวางทางเดิน เพราะเมื่อเหยียบย่ำ หรือกดทับนานเข้า ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า จะชำรุดฉีกขาด อันตรายย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย
-
การติดตั้งสายไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะ หรือติดตั้งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดไฟฟ้ารั่วอยู่กับตู้เลี้ยงปลา ซึ่งโดยปกติ บริเวณนั้นจะเปียกชื้นอยู่แล้ว จึงมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายได้มาก และง่ายขึ้น จึงไม่สมควรที่จะติดตั้งสาย และอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้กับตู้เลี้ยงปลา เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม หากจะนำมาใช้ ควรต่อครอบโลหะลงดินเสมอ
ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า
-
เครื่องมือไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น กบ สว่าน หรือเลื่อยไฟฟ้า
เป็นเครื่องมือที่ใช้งานสมบุกสมบัน จึงอาจชำรุด จนมีกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่ ที่ครอบโลหะภายนอก
ควรเลือกซื้อเครื่องมือไฟฟ้า ชนิดที่มีสถาบันที่เชื่อถือได้รับรองคุณภาพ และถ้าเป็นชนิดที่มีสายดิน ต้องใช้เต้าเสียบ 3 ขา สำหรับเสียบกับเต้ารับ 3 รู มิฉะนั้นแล้ว จะต้องหาสายที่สามมาต่อเชื่อม เข้ากับครอบโลหะเป็นสายดิน เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่อาจจะรั่ว ออกมาที่ครอบโลหะไหลลงสู่ที่ดิน ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใข้ หรือมิฉะนั้น จะต้องเลือกเครื่องมือไฟฟ้า ชนิดที่หุ้มฉนวนสองชั้น โดยสังเกตเครื่องหมาย ที่แผ่นป้ายแสดงรายละเอียดประจำเครื่อง
เครื่องมือไฟฟ้าทุกชนิด ก่อนที่จะนำมาใช้ ต้องตรวจสอบสภาพความปลอดภัยก่อนเสมอ -
ตู้เย็น ตู้แช่
ควรจะต่อสายดิน เช่นเดียวกันกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่มีครอบภายนอกเป็นโลหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตู้เย็น ตู้แช่บนพื้นซีเมนต์ ตั้งใกล้ท่อประปา หรือใกล้ที่ชื้นแฉะ
ควรจัดทำเต้ารับไว้โดยเฉพาะ หากจะต่อสายให้ยาวขึ้นกว่าเดิม จะต้องใช้สายชนิดที่ทนทาน ต่อการใช้สมบุกสมบัน และต้องใช้สายขนาดโตเท่าเดิม
หลอดไฟในตู้เย็นที่ขาดแล้ว ควรใส่ไว้กับขั้วรับ จนกว่าจะเปลี่ยนหลอดไหม่
การเร่งละลายน้ำแข็งในตู้เย็น โดยวิธีใช้พัดลมเป่า หรือใช้หม้อต้มน้ำ ใส่เข้าไปในตู้เย็น นอกจากจะทอนอายุการใช้งานของตู้เย็นแล้ว น้ำแข็งที่ละลาย อาจกระเซ็น หรือไหลมาถูกพัดลม หรือหม้อต้มน้ำ ทำให้ไฟฟ้ารั่ว จนอาจเป็นอันตรายได้ - การต่อเปลือกโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าลงดินช่วยให้ปลอดภัย แต่ต้องทำให้ถูกต้อง การต่อสายจากเปลือกโลหะลงดินโดยตรงเป็นอันตรายมาก ที่ถูกต้อง จะต้องต่อสายเส้นศูนย์ที่แผงสวิตซ์เมนลงดินก่อน และ ณ จุดต่อสายเส้นศูนย์เพื่อไปลงดินนั้นต่อกับสายอีกเส้นหนึ่ง เพื่อเป็นสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วเดินสายเส้นนี้ ไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อต่อกับเปลือกโลหะ วิธีนี้จะปลอดภัยถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งหากมีไฟฟ้ารั่วมาก ก็จะช่วยทำให้ฟิวส์ขาดปลดวงจรออกเตือนให้เรารู้ตัวไว้ก่อน
-
เมื่อเกิดน้ำท่วมขังเนื่องจากฝนตกหนัก น้ำหลาก หรือท่อประปาขนาดใหญ่แตก และเห็นว่าระดับน้ำจะท่วมสวิตซ์ เต้ารับ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ปั๊มน้ำ ให้ทำการตัดกระแสไฟฟ้า ที่แผงสวิตซ์รวมก่อน แล้วดำเนินการย้ายสวิตซ์เต้ารับ ฯลฯ ให้พ้นจากระดับน้ำ โดยช่างไฟฟ้าที่ชำนาญ หรือแจ้งการไฟฟ้านครหลวง เพื่อช่วยดำเนินการให้
-
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งใกล้กับน้ำ หรือในที่ชื้อแฉะ เช่น ปั๊มน้ำ เครื่องทำน้ำร้อนแบบใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำ ฯลฯ เครื่องใช้เหล่านี้ ต้องติดตั้งใช้งาน ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพระหากมีการรั่วของไฟฟ้า จะมีอันตรายต่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้ง่าย
-
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องขยายเสียง และเครื่องดนตรีไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ อาจเกิดชำรุด จนมีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมาที่โลหะ ซึ่งครอบภายนอก ผู้ใช้ซึ่งยืนอยู่บนพื้นดิน ซีเมนต์ หรือที่เปียกชื้น อาจได้รับอันตรายถึงเสียชีวิตได้
ควรต่อครอบโลหะของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ลงดิน เพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว
ขณะนำเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ ควรปูพรม ผ้าหนา ๆ หรือแผ่นยางบนพื้นดิน หรือซีเมนต์บริเวณที่ตั้งเครื่อง สำหรับเป็นที่ยืน
การช่วยผู้ถูกไฟฟ้าแรงดันต่ำ
-
ตัดกระแสไฟฟ้าออก โดยถอดปลั๊ก ยกคัทเอาท์ หากทำไม่ได้ ต้องใช้สิ่งที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ยาง ผ้าแห้ง เชือก ไม้แห้ง เขี่ย หรือจับสายอุปกรณ์ หรือตัวผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีไฟฟ้า
-
ทำการปฐมพยาบาล
เห็นเป็นทั้งบริษัท